วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

การนำเสนอภาพพจน์ของข้อมูลภูมิศาสตร์ (Visualization of Geographic Information)

การรับรู้เพื่อทำแผนที่ (Cartographic cognition) คือกระบวนการที่มนุษย์ได้รับทราบทั้งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการทางจิต (mental process) ซึ่งเป็นการยากที่จะนำมาทำซ้ำขึ้นอีกครั้งด้วย software computer ใน GIS (Taylor, 1991) ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปัจจุบันมีกระบวนการที่เรียกว่า scientific visualization เพื่อใช้ในการประยุกต์ทำแผนที่ด้วย GIS

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ (Human-computer interaction: HCI)

ปัจจัยทางมนุษย์ (Human factors) เรียกได้เช่นกันว่า การจัดวางรูปแบบของพื้นที่ปฏิบัติงานและอุปกรณ์สำนักงานให้เหมาะสม สะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ (ergonomics or human engineering) จัดเป็นศาสตร์ด้านหนึ่งที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับภาวะตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี ในที่นี้ “HCI” สามารถนำเสนอเป็น 3 ประเด็นสำคัญที่มีความสัมพันธ์ต่อกันในเรื่องของเทคนิคการออกแบบ software
1.สิ่งที่คุณเห็นคือสิ่งที่คุณทราบและรับรู้ (what-you-see-is-what-you-get: WYSIWYG) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันในพื้นที่หนึ่งดียวกัน มักจะเป็นตัวบอกถึงภาวการณ์เชิงระบบในพื้นที่นั้นๆ
2. การปรับสภาพให้เหมาะสมโดยตรง (direct manipulation) คือกรณีซึ่งเป็นโอกาสของผู้ใช้ (user) สามารถใช้อุปกรณ์ชี้จุด เช่น mouse เลือกตำแหน่งเป้าหมายต่างๆหน้าจอ ลาก drag ไปตามที่ต้องการ หรือ click เพื่อทำให้กระบวนการปฏิบัติงานด้านต่างๆเกิดขึ้น
3. ภาวะเผชิญหน้าพร้อมกันระหว่างผู้ใช้และข้อมูลรูปภาพ (graphical user interface: GUI) เป็นลักษณะของการใช้ icon และ menus ในการเลือกวิธีปฏิบัติให้กับ Computer

ทั้ง 3 ประเด็นนี้คือแนวคิดเบื้องต้นที่เป็นรากฐานของการทำงานแบบแผนที่อัตโนมัติ (automated mapping) ในปัจจุบัน ซึ่งเราเรียกกันโดยสรุปว่า “window-icon-menu-pointer: WIMP”

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

แบบจำลอง GIS: การติดต่อสื่อสารข้อมูล

ตลอดเวลาที่ผ่านมา แผนที่กล่าวได้ว่าเป็นแบบจำลองทางภูมิศาสตร์ประเภทหนึ่ง “แผนที่ (map user)” เปรียบดังเช่น “data carrier” ผู้ใช้แผนที่ (map user) เปรียบเสมือนกับ “passive receptor” การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของแผนที่ในสิ่งแวดล้อมทาง GIS ก็เป็นดังเช่น “การติดต่อสื่อสารด้านการทำแผนที่ (cartographic communication)” ได้ถูกเปลี่ยนให้เกิดแนวปฏิบัติสำคัญๆขึ้นมาใหม่ โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นแบบจำลองใหม่ทางด้านการทำแผนที่นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม คำว่า “Communication” สามารถนำมาอธิบายได้โดยการเปรียบเทียบ (comparison) กับแบบธรรมเนียมดั้งเดิมของการทำแผนที่ (conventional cartographic method) กลับกลายเป็นว่า “การติดต่อสื่อสารด้านการทำแผนที่” ดังกล่าวมานี้ เป็นทั้งกรณีของ แบบจำลองใหม่ (new model) และ แบบธรรมเนียมดั้งเดิม (traditional convention) มาผนวกเข้าด้วยกัน
โดยเป็นแบบจำลองที่จำแนกออกได้ในหลายมิติ สามารถแสดงออกได้ทั้งกรณี 3 มิติ (three dimensional) นำเสนอแบบการแสดง (dramatically) และนำเสนอเชิงช่วงเวลา (temporally) ซึ่งก็คือเป็นได้ทั้งแนวคิดและวิธีการ (concepts and methods) เพื่อทำแผนที่ให้บรรลุผล

การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการทำแผนที่ (The Changing Nature of Cartography)

กระบวนการการทำแผนที่มุ่งไปสู่การใช้เครื่อง Computer มาเป็นเครื่องมือหลัก แผนที่ในอดีตที่มีมาในรูปแผ่นกระดาษ (hard copies) ถูกเปลี่ยนมาเป็นการแสดงออกทางหน้าจอ (screen display) หรือเรียกกันได้ว่า “soft copy or digital map” แผนที่เชิงตัวเลข (digital map) ดังกล่าวนี้สามารถนำเสนอได้ทั้งในเชิง มุมมองแบบทัศนียภาพ (perspective view) ภาพเคลื่อนไหว (animation) การนำเสนอเป็นภาพเลียนของจริง ในลักษณะภาพจากการบินในที่สูง (fly by or fly through) ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการทำเทียมเลียนแบบจากของจริง (simulation) โดยคำนี้เองที่เป็นตัวแสดงให้เห็นถึงกรณีของ “what if” แผนที่เชิงตัวเลขดังกล่าวนี้มีข้อเด่นคือ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่อยากเปลี่ยนรูปแบบ ประเภทแผนที่ มาตราส่วน เกณฑ์ทางระบบพิกัด อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยนรูปของผลการนำเสนอกรณีต่างๆเช่น Graphs, charts, statistical tables, และ การเขียนรายงาน

กล่าวโดยสรุปแล้ว “Digital map” จะแตกต่างจาก “Analog map or printed map”
ใน 3 ประการหลัก

1) การเก็บรักษาข้อมูล (data store)
2) การส่งผ่านข้อมูล (data carrier)
3) กลไกสำหรับนำเสนอข้อมูล (mechanism for information presentation)

ทั้ง 3 ประการนี้ ที่สำคัญอย่างมากก็คือข้อ 3 เพราะจะเป็นการเน้นไปยังกระบวนการสำคัญ 2 ประการที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ได้แก่
3.1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ (human-computer interaction: HCI)
3.2) การนำเสนอภาพพจน์ของข้อมูล (Scientific visualization: SciVis)
การทำแผนที่ในปัจจุบัน จึงเกี่ยวข้องอย่างมากกับ “Computer graphic” และ “Image processing” ทำให้ GIS เป็นเสมือนหนึ่ง การทำแผนที่แบบ “an interface to geographic information”

การทำแผนที่ในส่วนของ GIS

Cartography และ GIS ต่างก็มีส่วนเกี่ยวพันกับแผนที่ ในเวลาที่ผ่านมา ผู้ใช้ GIS จะใช้แนวคิดเทคนิคและวิธีการจาก Cartography เพื่อสร้างแผนที่ขึ้นใช้ ต่อมาในปัจจุบัน เทคนิและอุปการณ์ทาง GIS ได้รับการพัฒนามากขึ้น นิยามใหม่ๆแห่งคำว่า cartography ในส่วนที่นำมาผนวกเข้ากับ GIS ก็ได้เกิดขึ้น
เมื่อ GIS ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นผลให้รูปแบบการทำแผนที่แบบเดิมๆ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลาที่ผ่านมา Cartography จะเน้นไปอย่างมากที่คำว่า “where” ซึ่งก็คือ ตำแหน่ง (position) ว่าถูกต้องชัดเจนมากมายแค่ไหน เปลี่ยนไปสู่การเน้นไปที่ คำว่า “why,” “when,” “how,” และ “what-if”

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

อีกสองชั่วโมง

อานะ
พรุ่งนี้(ไมกี่ชั่วโมงแล้ว)ก็จะไปทริปอีสานทัวกันแล้วนะค่ะ
อิอิ
หุหุ
ยังเก้บของไม่เสร็จเลยอะ
หือๆๆ
หลับก่อนค่อยตื่นมาเก็บดีกว่า
อิอิ

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

Land use

ทฤษฏีการใช้ที่ดิน Land use theory







Johann Heinrich von Thunen and Land Use Theory
แบบจำลองการใช้ที่ดินการเกษตร ของThünen
Thünen ได้พัฒนาแบบจำลองการใช้ที่ดินก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภายใต้สมมติฐานที่มีปัจจัยจำกัดดังนี้
ตลาดกลางตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ปราศจากอิทธิพลของปัจจัยภายนอกและไม่มีการใช้ที่ดิน (Isolated State) เช่น พื้นที่ชุมชนที่เป็นชุมชนของท้องถิ่นและไม่มีอิทธิพลจากภายนอก
สภาพแวดล้อมของพื้นที่(state) มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน (homogenious) ไม่มีแม่น้ำ ภูเขาหรือสิ่งกีดขวาง นอกจากนี้ยังมีดิน ภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรคล้านคลึงกันหรือเหมือนกัน
พื้นที่ดังกล่าว ต้องไม่มีเส้นทางขนส่งหลัก กล่าวคือเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจะขนส่งผลผลิตและบริการผ่านทางเกวียนหรือทางเดินไปยังตลาดกลางโดยตรง
เกษตรกรในพื้นที่นี้จะต้องพิจารณาว่าต้องการอะไรเพื่อให้ได้มาผลกำไรสูงสุดในตลาดกลาง

R = Y (p - c) - Yfm (English [incl. Krumme])
Variable German Symbols English Symbols Hoover's Symbols
Rent (per unit of land) R (Rent) R R
Yield (per unit of land) E (Ertrag) Y (Yield) Q (Quantity)
Price (farmer receives at the market) p (Preis) p P
Average Production Costs (per Unit of Yield) a (Ausgaben) c TC=F+aQb (Total Costs= Fixed Costs + Variable Costs)
Distance from Market k (Kilometer) m (Miles) x
Freight rate per unit of Yield and Unit of Distance f (Fracht) f t (transfer costs)
R= กำไร , Y=ผลผลิต/หน่วยที่ดิน, p=ราคาผลผลิตที่ขายได้/หน่วย, c=ต้นทุน/หน่วย, f=ค่าขนส่ง, m=ระยะทาง